welcome to bloger Mew Phitchaporn

welcome to bloger Mew Phitchaporn

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความประทับใจ
            ครั้งเเรกที่ฉันได้เข้ามาสอบรร.ถาวรา ฉันก็รู้สึกตื่นเต้นมากเเล้ว  เเละพอได้รู้ว่าสอบติดรร.ถาวราฉันยิ่งตื่นเต้นมากเเละรู้สึกดีใจอย่างมากที่สอบติด เเละได้เข้ามาเรียนรร.ถาวรา วันเเรกที่เข้าเรียนฉันก็เจอเพื่อนมากมายเเละยังไม่ชินกับเพื่อนหน้าใหม่ๆเเต่พอได้อยู่กันมาเรื่อยๆก็เริ่มสนิทกันมากขึ้นเเละรู้จักกันมากขึ้น  จนเริ่มมีเพื่อนๆเยอะเเยะ  เเละก็อยู่ร่วมกันมาเป็นเวลานานจนถึงปัจจุบันนี้   เพื่อนๆทุกคนไม่มีใครที่ดีไปเสมอเเต่เขาก็ดีกับฉันมาตลอด ทุกๆคนในห้องช่วยกันเเก้ปัณหากันมาตลอดเเละร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาจนถึงวันนี้...  

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ ด.ญ.พิชชาพร ภู่สกุล  ม.2/3 เลขที่26
ศึกษาอยู่ที่รร.ถวรานุกูล  จังหวัดสมุทรสงคราม


วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์

ภาพประกอบ

คุณธรรม-จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์
จริยธรรม หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตการใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย อ่านต่อ

ซอฟแวร์และการเลือกใช้

ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง     ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
      ประเภทของซอฟต์แวร์  ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ประเภท อ่านต่อ